หลายคนอาจจะพอคุ้นเคยกับแบรนด์ Wahoo ที่ทำผลิตภัณฑ์ออกมามายในวงการจักรยาน ไม่ว่าจะเป็นไมล์ นาฬิกา เทรนเนอร์ อุปกรณ์ฟิตเนส หรือแม้แต่บันได (Wahoo Speedplay)  นอกจากนี้ยังมีเจ้าจักรยานเทรนเนอร์ Kickr Bike ที่เปิดตัวมาได้ซักพักใหญ่แต่เนื่องจากสถานการณ์ Covid-19 ทำให้ Kickr Bike  นี้เข้ามาในเมืองไทยช้ากว่าที่ควร ถึงอย่างนั้นเมื่อวันที่ Kickr bike มาถึงเมืองไทย ก็ถูกจองหมดในเวลาไม่ถึง 3 วัน!  ทั้งที่ในตลาดมีเทรนเนอร์แบรน์อื่นๆ อยู่แล้วในราคาเข้าถึงได้มากกว่า แต่ทำไมกลับไม่เป็นที่นิยมเท่า Wahoo?   เจ้าตัว Kickr Bike ดีกว่าตรงไหนเรามาดูกัน

ตัวที่เราจะมารีวิววันนี้เป็นล็อตใหม่ล่าสุดนะครับ รายละเอียดตัวเครื่องจะมีดังนี้

Wahoo Kickr Bike Spec

GEOMETRY & SIZE
ขนาดฐานวาง  121 ซม. *  76ซม.
Standover Height ปรับได้ตั้งแต่ 95 ซม. – 119 ซม.
รองรับความสุงผู้ใช้ตั้งแต่ 152 ซม. – 192 ซม.
ความยาวขาจานปรับได้ 5 ระดับ 165mm, 167.5mm, 170mm, 172.5mm, 175mm

TECHNOLOGY & DATA
รองรับ ANT+®, BLUETOOTH®,  ANT+ FE-C
รองรับโทรศัพท์ระบบ iOS, Android, และต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์ (Mac and Windows)
ความแม่นยำของพาวเวอร์มิเตอร์อยู่ที่ +/-1%
อัพเดทเฟิมแวร์อัตโนมัติ

SPECIFICATIONS
รองรับวัตต์สูงสุด 2200 W
จำลองความชันสูงสุด 20%
จำลองความลาด -15%
ฟลายวีล 5.9 กิโลกรัม พร้อมมอเตอร์หน่วง
ตัวเครื่องหนัก 42 กิโลกรัม
รองรับไฟ 100-240v

แกะกล่อง

ล็อตที่ขายในไทยจะเป็นกล่องที่ประกอบมาให้เกือบครบแล้ว เพียงแค่ใส่ขาตั้ง ใส่แฮนด์ บันได ปรับเซท รวมๆใช้เวลาไม่น่าเกิน 30 นาที ก็สามารถปั่นได้เลย อาจจะยากตอนใส่ขาตั้ง ควรมีคนช่วยกัน 2 คนจะปลอดภัยกว่า

ด้านขวาตัวเครื่องมีจอบอกสถานะ เกียร์ ความเร็ว ความชัน

ชิฟเตอร์ที่มากับเครื่องสามารถตั้งค่าได้ว่าจะใช้เป็นชุดเกียร์ของค่ายอะไร Shimano / Sram / Campagnolo  เช่นเราเลือกใช้ Red Etap การเปลี่ยนจานหน้าก็ต้องตบชิฟเตอร์ 2 ข้างพร้อมกันเป็นการเปลี่ยนจาน! ดังนั้นใครเป็นสาวกค่ายไหน หรืออยากลองใช้ก่อนไปประกอบคันใหม่ก็ปรับได้เลยครับ และตัวก้ามเบรคยังใช้งานได้จริง โดยที่ฟลายวีลจะหยุดหากเรากำเบรค

ปุ่มด้านในของชิฟเตอร์ทั้งสองข้างสามารถใช้”เลี้ยว” ได้  ใช่ครับฟังค์ชั่นนี้เพิ่งเข้ามาใน Zwift เดือนนี้เป็นแอปแรก

บาร์กับสเตมจะมีไซส์เดียวเหมือนกันหมด สเตม 80 มม.  / แอนดื 420 มม. ตรงนี้หลายคนสามารถเปลี่ยนสเตม/แฮนด์ ให้เข้ากับที่เคยฟิตไว้ได้ ซึ่งการถอดชิฟเตอร์ก็ถอดได้ไม่ยาก

ใต้ตัวเครื่องจะมีรูสำหรับต่อสายจากชิฟเตอร์ 3 ช่อง และมี usb ว่างอีก 1 ช่อง ช่องที่ว่างคาดว่าจะใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ที่จะออกมาในอนาคต

เบาะที่ให้มาจะค่อนข้างนุ่ม และแคบไปนิด บางท่านอาจจะเปลี่ยนหากจะให้ได้องศาการปั่นแบบที่ต้องการ

ขาจานมีให้เลือกความยาว 5 ระดับ 165-175มม. ทำให้เราสามารถลองความยาวขนาดอื่นๆว่ามีผลต่อการปั่นหรือชอบแบบไหนมากกว่า

อะแดปเตอร์ที่ให้มาเป็นแบบ switching รองรับการใช้งานนานๆหลายชั่วโมง

 

เซทอัพเครื่อง

การปรับตัวเครื่องสามารถทำได้ 3 แบบ คือ

  • ใช้ค่าที่ได้มาจากการฟิตติ้งที่ผ่านมาของ GURU, Retül หรือค่ายอืนๆ
  • ใช้ค่าจากแอป Wahoo Fitness ในการถ่ายภาพแล้วแปลงเป็นค่ามาปรับเอง
  • ใช้การวัดตัวแบบปกติ

ซึ่งการปรับทั้งสามแบบ จะนำค่าที่ได้มาใช้ปรับเปลี่ยนตำแหน่งของตัว Wahoo Kickr Bike ได้เป็น Reach / Stack / Saddle Height / Stand over height / Crank Lenght ซึ่งค่าพวกนี้สำคัญมากๆในการปรับให้เราปั่นบนจักรยานหรือเทรนเนอร์ ซึ่งหากจะแนะนำแล้วควรปรับโดยฟิตเตอร์จะทำให้เราได้ประสบการณ์การปั่นที่ดี และลดโอกาสการบาดเจ็บหากต้องการปั่นอย่างจริงจัง

วิธีปรับ Geometry รถ Kickr Bike ให้ตรงกับจักรยานเรา

ปรับความสูงท่อนั่ง

ปรับความสูงเบาะ ด้วยการปรับระยะหลักอาน

ปรับระยะเยื้องหลังของเฟรม

ปรับระยะเอื้อมของเฟรม

ปรับความยาวท่อคอ

เลือกความยาวขาจาน

การใช้งานจริง

การปั่นให้ความรู้สึกที่เหมือนปั่นบนเทรนเนอร์ตัวท็อปทุกอย่าง แต่จังหวะยกขึ้นลง ทำได้ดีกว่า Kickr Climb

เสียงจากมอเตอร์กับสายพานช่วงออกตัวมีเสียงดังและสะดุดเล็กน้อย พอความเร็วเริ่มเข้าที่อาการเหล่านี้หายไป เสียงเงียบมากพอควร

ท่อนอนมีขนาดกว้างทำให้ขาของนักปั่นที่มีขนาดใหญ่บางท่านอาจจะถูโดนบ้าง

จอด้านข้างมองยาก ซึ่งถ้าใครใช้ ERG Mode คงไม่จำเป็น

เนื่องจากเป็นเทรนเนอร์ที่ใช้อุปกรณ์มากจากจักรยานจริง ชิ้นส่วนบางอย่างควรมีการดูแลรักษา เช่นผ้าพันแฮนด์ที่ต้องเปลี่ยนบ้าง สเตม/แฮนด์ต้องย้ำน็อตบ้าง

สรุป

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Wahoo Kickr Bike นั้นทำมาตอบโจทย์นักปั่นตั้งแต่เริ่มต้นยันระดับแข่งขัน ทั้งสายถนน จนถึงสายไตรกีฬา ที่ต้องการซ้อมอย่างจริงจังเพื่อพัฒนาตัวเองได้เป็นอย่างดี ทั้งยังออกแบบมาแทนที่การปั่นจักรยานข้างนอกได้ มีการปรับที่ละเอียด จนเหมือนเรามีรถคู่ใจเพิ่มมาอีกคัน แม้หลายคนจะชอบบรรยากาศในการปั่น พบปะเจอเพื่อนฝูง สูดอากาศโลกภายนอก สัมผัสธรรมชาติ เหนื่อยบ้าง ร้อนบ้างก็ทำให้เราสนุกกับการปั่นจักรยาน กลับกันก็ยังมีอีกหลายคนที่หันมาปั่นจักรยานภายในบ้าน แข่งกันบน Zwift หรือเข้าคอร์สเข้มๆ บน Traineroad อีกทั้งไม่ต้องไปไหนไกลให้ที่บ้านเป็นห่วง  โดยสุดท้ายแล้วจะเลือกแบบไหน ความรู้สึกสนุกกับการปั่นจักรยานก็คงไม่ต่างกันเท่าไรนัก แต่ถ้าใครอยากลองสัมผัสโลกแห่งการซ้อมที่ฝรั่งเรียกกันว่า “Pain cave” ว่าจะโหดขนาดไหนก็ต้องมาลองจัดเจ้า Wahoo Kickr Bike กันไปดูครับ

ข้อสังเกต

  • QFactor อยุ่ที่ 150 มม.
  • มีจุดยึดขากระติก 1 ตำแหน่ง
  • จอด้านข้างมองยาก
  • รองรับผู้ใช้งานไม่เกิน 113 กิโลกรัม
  • ต้องรองแหวนก่อนใส่บันไดทุกครั้ง (แถมแหวนรองมาให้) อาจจะถูยูนิตวัตต์ของ Vector2
  • ผ้าพันแฮนด์ควรได้รับการเปลี่ยนหลังใช้งานซักระยะ
  • การประกอบครั้งแรกควรช่วยกัน 2 คน เนื่องจากน้ำหนักที่เยอะ และต้องเอียงเครื่องเพื่อยึดขาตั้ง

จุดเด่น

  • ให้ความรู้สึกเสมือนปั่นถนน เสียงมอเตอร์เงียบพอควร การยกขึ้นลงลื่นกว่า Kickr Climb
  • วัตต์แม่นยำ มี Temp. Compensation
  • Bluetooth smart รุ่นใหม่ต่อพ่วงอุปกรณ์ได้พร้อมกัน 3 ตัว
  • สามารถเปลี่ยน แฮนด์ เบาะ สเตม ได้ตามต้องการ
  • ต่อพ่วงอุปกรณ์ข้ามค่ายได้ เช่น Garmin
  • เป็นพาร์ทเนอร์กับ Zwift ทำให้เครื่องใช้งานได้ทุกฟังค์ชั่นและอัพเดทก่อนใคร

 

สินค้าพร้อมจำหน่ายที่ร้าน  Let’s Bike

สนใจสอบถามเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อได้ที่
โทร 086-0009824
Line ID : @Letsbike