ว่าด้วยเรื่องของ Hydraulic Disc Brake vs Rim Brake ต่างกันยังไง

วันนี้จะขอพูดถึงในส่วนของ ดิสเบรค ที่เป็นระบบน้ำมันกันก่อนครับ

จากการที่ UCI ได้อนุญาติให้ใช้รถจักรยานที่เป็นระบบดิสเบรคเข้าทำการแข่งขันได้แล้ว ก็ทำให้เห็นจักรยานที่เป็นดิสเบรคบ่อยขึ้น กระแส

จักรยาน ในตลาดเริ่มมีการปล่อยรถที่เป็นดิสออกมาให้ได้เลือกตั่งแต่ตัวเริ่มจนถึงตัวท็อปๆ เป็นตัวเลือกให้ง่ายกับการตัดสสินใจ หรือจะเป็นชุด

เกียร์แทบทุกค่ายก็ออกมาพร้อมให้ซื้อหาจับจองกันแล้ว ทั้ง Shimano Sram Campagnolo รวมทั้ง ล้อ ก็เริ่มออกมาให้ใช้งานกันมากขึ้น

ที่นี้ก็เลยจะมาพูดถึงว่า ดิสเบรค แตกต่างหรือมีความน่าสนใจยังงัยเมื่อเทียบกับ ริมเบรค

ถ้าถามในเรื่องของประสิทธิภาพหรือน้ำหนักการเบรคในทางราบ คงไม่มีปัญหาหรือคงไม่มีความต่างกันจนเป็นประเด็นมากนัก ถ้าจะมีข้อแตกต่าง

จริงก็คงเป็นเรื่่องของความนุ่มนวลเวลาที่เราเลี้ยงเบรค มันจะสั่งได้ละเอียดกว่า ริมเบรคที่จะรู้สึกตึงๆมือกว่าพอสมควร

แต่ถ้าเป็นทางเขา อันนี้จะเริ่มเห็นถึงความได้เปรียบของ ระบบดิสเบรคอย่างชัดเจน เราก็จะมาเน้นให้เห็นชัดๆไปเลย

  • ความสบายมือเวลากำเบรคลงเขาลงเนินติตต่อกัน ในส่วนนี้เอาจริงๆแล้ว ริมเบรค ก็เบามือดีในระดับนึงสำหรับตัวสูงๆ แต่ที่รู้ๆกันคือมือเบรคมันมีระยะยุบตัวไม่มาก พอใช้เบรคไปสักพักก็จะเริ่มเมื่อยมือเมื่อยนิ้วกันแล้ว กำลังที่จะกดเบรคเพื่อให้รถชลอความเร็วก็จะยากขึ้น แตกต่างจากมือเบรคของดิสเบรคถึงแม้จะเป็นตัวเริ่มต้น ก็ใช้แรงในการเบรคที่ไม่มาก เรียกได้ว่าสบายมือกว่าพอสมควร

  • กำลังเบรค ในทางราบไม่ค่อยแตกต่าง แต่ถ้าเป็นการลงเขายาวๆ ดิสเบรคจะให้กำลังเบรคที่ คงเส้นคงวากว่าริมเบรคอยู่พอสมควร จากการที่ตัว Rotor หรือจานเบรคนั้นผลิตจากวัสดุผสม สามารถระบายความร้อนได้อย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถรักษากำลังเบรคได้ดีกว่า แต่พอเป็นริมเบรคทั้ง ล้ออลู และ ล้อคาร์บอน ด้วยที่วัสดุที่นำมาทำขอบล้อ โดยเฉพาะล้อคาร์บอน ที่ขอบล้อจะมีการระบายความร้อนที่ไม่ค่อยดี และยังมีความร้อนที่มาจากจากยางเข้าไปอีก พอความร้อนสะสมมาถึงระดับนึงเบรคจะเริ่มลื่น การชลอความเร็วจะเริ่มใช้ระยะทางที่มากขึ้น เลยยิ่งต้องใช้แรงเบรคที่หนักขึ้นตามไปอีก ทำให้เกิดการล้าจาการเบรคด้วยครับ

  • ความทนทาน พอเข้าประเด็นเรื่องความทนทานก็จะยิ่งเห็นความคุ้มค่าชัดเจน ที่รู้ๆกันก็คืออายุของล้อ ส่วนนึงก็คือขอบเบรค พอเราใช้งานไปขอบเบรคก็จะสึกหลอไปตามการใช้งาน ยิ่งถ้าไม่ได้ดูแลเรื่องความสะอาดก็จะมีอายุสั่นลง พอขอบล้อหมดอายุนั่นหมายถึงเปลี่ยนสถานเดียว ไม่ว่าจะเปลี่ยนขอบหรือล้อทั้งชุด ซึ่งถ้าเทียบกัน ระหว่าง Rotor หรือ จานเบรค กับ ล้อทั้งชุด ราคานี่ต่างกันหลาายเท่าตัว

  • อีกเรื่องนีงก็เป็นเรื่องที่ได้ยินกันบ่อยๆเรื่องขอบล้อคาร์บอน บวมจากการลงเขากันมา ก็คือทุกข้อที่กล่าวมาเริ่มจาการที่เราใช้แรงกำเบรคที่หนักขึ้นจากอาการเมื่อยล้า การที่เบรคมีอุณหภูมิที่สูงทำให้เบรคลื่น ประกอบกับความร้อนที่มาจากยางที่เสียดสีกับถนน ถึงจะเป็นล้อ อลูก็มีสิทธิเสียหายจากอาการยางแตกได้อยู่ดี แต่พอเป็นล้อคาร์บอน พอมีความร้อนสะสมมากเกินไปตัววัสดุของขอบเองก็เริ่มอ่อนตัวทำให้แรงดันของลมในยางดันให้ขอบล้อเสียรูปหรือบวมออกมาหรืออาจจะไปกระแทกในขณะที่ขอบล้ออ่อนตัวเลยทำให้เสียรูปก็ได้

  • แต่ก็มีเรื่องทียังเป็นรองอยู่ก็คือ น้ำหนักตัว ที่ยังมากกว่าริมเบรคอยู่ประมาณนึง ก็เลยยังเป็นตัวแปรตัวนึงในการตัวสินใจว่าจะเปลี่ยนมาใช้ดิสเบรคหรือไม่ ก็คงต้องดูการใช้ของแต่ละบุคคลเป็นหลัก

 

ส่วนท่านได้สนใจ รายละเอียด หรือข้อมูลอื่นๆ

สามารถสอบถามรายระเอียดเพิ่มเติม ได้ที่

Line

โทร 086-0009824, 02-9829166

ร้านอยู่ในเมืองทองธานีครับ
แผนที่ร้าน

https://www.letsbike.co.th/map

ร้านเปิด อังคาร-อาทิตย์ 10.00-1 ทุ่ม ปิดวันจันทร์